

พิธีบายศรี สู่ขวัญ โครงการบายศรีสู่ขวัญต้อนรับน้องใหม่ 2565 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดโครงการบายศรีสู่ขวัญต้อนรับน้องใหม่แ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับนักศึกษาปัจจุบัน คณาจารย์ และบุคคลากร เพื่อให้นักศึกษาใหม่ มีขวัญและกำลังใจในการศึกษา และเพื่อส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรมไทย
พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทยและคนลาว บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ ด้วยความเชื่อที่ว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ
บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์ พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น
The Lao, as with other Tai-speaking peoples, believe in souls (khuan) which need to be integrated with the body to ensure the well-being of the individual. A ritual called the baci or sou khuan is widely peí formed to achieve this. This paper reviews the literature on beliefs associated with the ritual and its variations and touches on recent changes in the ritual in Laos today. It is argued that the ritual is an integral part of Lao culture and is, in many respects, important to Lao conceptualizations of identity.
Baci (Lao: ບາສີ; Thai: บายศรี, RTGS: bai si) and su kwan (Lao: ສູ່ຂວັນ; Thai: สู่ขวัญ, RTGS: su khwan; meaning “calling of the soul”) is an important ceremony practised in Lao culture, Sipsong Panna and Northern and Isan Thai culture.
Baci is a phi ritual used to celebrate important events and occasions, like births and marriages and also entering the monkhood, departing, returning, beginning a new year, and welcoming or bidding etc.The ritual of the baci involves tying strings around a person’s wrist to preserve good luck, and has become a national custom.
The observance of Baci as a spiritual ceremonial event was prevalent in Laos even before Buddhism made inroads into the country. It is also a common heritage in Southeast Asian countries, particularly in Thailand and Laos. This practice is linked to the ancient belief that Baci is invoked religiously to synchronise the effects of 32 organs of the human body considered as kwan (QUANT) or spirits or the “components of the soul”. Its observance to establish as social and family bond to maintain “balance and harmony to the individual and community, is done in its original format in Laos, as a substantiation of human existence”.
ที่มา https://www.sanook.com/horoscope/131393/